Contact us |

แนวทางการคัดเลือกบทคัดย่อ

ทางคณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกบทคัดย่อเพื่อเข้าร่วมนำเสนอในงานประชุม TSAC2015 ด้วยหลักการดังต่อไปนี้

  1. ความสามารถในการใช้ภาษา

    1. บทคัดย่อมีการใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      ความหมาย
      • มีความกระชับ ตรงประเด็น
      • มีการเรียงลำดับเนื้อหาเป็นไปอย่างเหมาะสม (logical order) และมีความต่อเนื่อง
      • มีการเลือกใช้คำศัพท์ในการอธิบายงานวิจัยได้เหมาะสม
    2. บทคัดย่อสามารถสื่อสารเนื้อหางานวิจัยให้กับผู้ที่ศึกษาทั้งในสาขาเดียวกันและต่างสาขาได้
  2. ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    ความหมาย
    เนื้อหาของบทคัดย่อมีความสามารถเชื่อมโยงงานวิจัยในแง่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาใดใดที่อยู่บนพื้นฐานของความสามารถในการรองรับของสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยทำให้สิ่งที่มีอยู่โดยรวมในปัจจุบันดีขึ้น และไม่มีผลกระทบต่อคนรุ่นต่อไป”

  3. ความสำคัญและความสมบูรณ์ของงานวิจัย

    1. งานวิจัยมีความเป็น 'State-of-the-Art'
      ความหมาย
      วิธีวิจัยงานหรือแผนการทดลองตลอดจนวิธีการวิเคราะห์ของงานมีความทันสมัยหรือไม่
    2. งานวิจัยมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (originality of content)
      ความหมาย
      งานวิจัยมีความริเริ่มสร้างสรรค์ในแง่หัวข้องานวิจัย หรือวิธีการวิจัยนั้นถูกพัฒนาและใช้ในงานวิจัยเป็นครั้งแรก ผลงานวิจัยนำไปสู่การค้นพบที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือถูกค้นพบมาก่อน
    3. บทคัดย่อมีความสมบูรณ์ในตัวและเขียนอย่างถูกแบบแผน (coverage and organization of abstract)
      ความหมาย
      บทคัดย่อมีการอธิบายปัญหาหรือสมมติฐานในการวิจัย มีการเก็บข้อมูลหรืออธิบายที่มาของข้อมูล มีการอธิบายวิธีการวิเคราะห์งาน และผลงานวิจัยสอดคล้องครบถ้วนกับจำนวนการวิเคราะห์
    4. ผลจากข้อมูลจากงานวิจัยมีความน่าเชื่อถือและมีกระบวนการทำงานวิจัยที่เหมาะสม
      ความหมาย
      วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์งาน หรือวิธีการทางสถิติเป็นวิธีการที่เหมาะสมและนำไปสู่คำตอบหรือผลวิจัยที่เหมาะสม และมีขั้นตอนในการวิเคราะห์มีความสมบูรณ์ และสามารถนำไปสู่ผลวิจัยได้จริง
    5. ข้อสรุปของงานวิจัยมีความน่าเชื่อถือและมีผลการวิจัยรองรับ
      ความหมาย
      ข้อสรุปของงานวิจัย/การศึกษา อยู่บนฐานของผลงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษา และมีข้อสรุปที่สอดคล้องกับปัญหาหรือสมมติฐานที่ได้กล่าวไว้

หมายเหตุ

  • แนวทางการพิจารณาดังกล่าว จะถูกปรับใช้กับสาขาวิชาที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่แตกต่างไปจากรูปแบบปกติ เช่น การวิจัยทางด้านกฏหมาย เป็นต้น
  • จำกัดความยาวของบทคัดย่อทั่วไปที่ ๒,๐๐๐ ตัวอักษร (นับรวมช่องว่าง)
  • บทคัดย่อทางด้านกฏหมายสามารถอ้างอิงตัวบทกฏหมายโดยอนุญาตให้ใส่เป็นเชิงอรรถเท่านั้น โดยความยาวบทคัดย่อทางด้านกฏหมายไม่ควรเกิน ๔,๐๐๐ ตัวอักษร (นับรวมช่องว่าง)